วันอาทิตย์ที่ 24 เมษายน พ.ศ. 2554

การขยายพันธุ์พืชสมุนไพร

การขยายพันธุ์พืชสมุนไพร

การขยายพันธุ์พืชสมุนไพร ( Herbs Propagation) หมายถึง การเพิ่มหรือทวีจำนวนต้นพืชให้มีมากขึ้นหรือหมายถึงการเพิ่มจำนวนพืชจากที่ มีอยู่ แต่ไม่รวมถึงการเพิ่มจำนวนต้นพืชด้วยวิธีที่นำมาจากที่อื่น
การขยายพันธุ์พืชสมุนไพร แบ่งออกเป็น 2 ประเภทใหญ่
  1. การขยายพันธุ์พืชสมุนไพรโดยอาศัยเพศ ( Seed or Sexual propagation) คือการนำเมล็ดที่เกิดจากการผสมระหว่างเกสร
    การเพาะพันธ์พืชสมุนไพร
    การขยายพันธุ์พืชสมุนไพรโดยอาศัยเพศ
    ตัวผู้และเกสรตัวเมีย ไปเพาะเป็นต้นกล้าให้เจริญเติบโตเป็นต้นใหม่ต่อไป ซึ่งลักษณะต้นใหม่ที่เกิดขึ้นอาจจะมีลักษณะที่ดีกว่าเดิมหรือเลวกว่าเดิมก็ ได้ วิธีการขยายพันธุ์พืชโดยวิธีนี้ มีข้อดีคือ พืชมีรากแก้ว เป็นวิธีที่เหมาะแก่การขยายพันธุ์พืชจำนวนมาก มีวิธีการและขั้นตอนไม่มากนัก แต่มีข้อเสียที่กลายพันธุ์ได้ ต้นใหญ่ และกวาจะออกผลต้องใช้เวลานาน พืชสมุนไพรหลาย ชนิดเพาะพันธุ์โดยวิธีนี้ เช่น คูน ยอ และฟ้าทะลายโจร วิธีการที่สะดวกและนิยมกันมาก คือการเพาะใส่กระถางหรือถุงพลาสติก วัสดุที่ใช้คือ ขี้เถ้าแกลบดำ ทรายหยาบ หรือดินปนทราย แต่ที่เหมาะที่สุดคือขี้เถ้าแกลบดำ เพราะขี้เถ้าแกลบดำไม่จับตัวแข็ง ร่วนซุย โปร่ง ระบายน้ำได้ดี แดดส่องสะดวก ถุงพลาสติกที่ใช้ต้องเจาะรูให้น้ำไหลได้ วิธีทำโดยใส่ถ่านแกลบลงในถุงพลาสติก เสร็จแล้วล้างถ่านแกลบด้วยน้ำเพื่อให้หมดด่างเสียก่อน ถ้าหากไม่ใช้ถ่านแกลบดำ จะใช้ดินร่วนปนทราย โดยใช้ดินร่วน 2 ส่วน ทรายหยาบ 1 ส่วน ปุ๋ยคอกแห้งป่นละเอียด 1 ส่วน เอามาผสมให้เข้ากันดี หยอดเมล็ดให้ลึกพอประมาณ 2-3 เมล็ด (ถ้าเมล็ดใหญ่ใช้ 1 เมล็ด) ดูอย่าให้แดดจัด รดน้ำพอประมาณวันละครั้ง อย่าให้น้ำขัง เมล็ดจะเน่า เมื่อเมล็ดงอกแล้วให้ถูกแดดบ้าง เมื่อต้นเจริญเติบโตพอควรก็แยกไปปลูกในที่ที่ต้องการได้
  2. การขยายพันธุ์พืชสมุนไพรโดยไม่อาศัยเพศ หรือใช้ส่วนต่างๆของต้น (Asexual propagation) คือ
    การขยายพันธุ์พืชด้วยส่วนใดส่วนหนึ่งของพืช เช่น กิ่ง หน่อ หัว ใบ เหง้า ไหล เป็นต้น โดยนำไปชำ ตอน แบ่งแยก ติดตา เพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ (Tissue Culture) ให้เกิดเป็นต้นใหม่ขึ้นมาได้ ข้อดีของการขยายพันธุ์โดยไม่ต้องอาศัยเพศ คือไม่กลายพันธุ์ สะดวกต่อการดูแลรักษา ได้ผลเร็ว และสามารถขยายพันธุ์พืชที่ยังไม่มีเมล็ดหรือไม่สามารถมีเมล็ดได้ แต่มีข้อเสียคือ ไม่มีรากแก้ว บางวิธีขยายพันธุ์ได้คราวละไม่มาก ต้องใช้เทคนิคและความรู้ช่วยบ้าง เช่น การตอน การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ การปักชำ การติดตา การทาบกิ่ง การแยกส่วน เป็นต้น วิธีการขยายพันธุ์พืชสมุนไพรแบบไม่อาศัยเพศมีหลายวิธี ในที่นี้จะแนะนำเฉพาะวิธีที่ใช้บ่อย และนำไปเลือกใช้กับการขยายพันธุ์พืชสมุนไพร ที่จะแนะนำต่อไปได้ ส่วนวิธีการอื่นไม่เหมาะที่จะนำมาใช้ในการขยายพันธุ์สมุนไพรเนื่องจากต้อง อาศัยความชำนาญและเครื่องมือหลายอย่าง รวมถึงต้นทุนในการลงทุนระยะแรกๆ ค่อนข้างสูงทำให้ไม่คุ้มทุนสำหรับเกษตรในชนบทที่ไม่มีผู้เชี่ยวชาญแนะนำ แต่หากสนใจสามารถศึกษาได้จากตำราวิชาการด้านการเกษตร
    • การแยกหน่อ หรือ กอ พืชสมุนไพรบางชนิด เช่น กระชาย กล้วย ตะไคร้ ขิงข่า เตย ว่านหางจระเข้ ขยายพันธุ์โดยการแยกหน่อหรือกอ ทำได้โดยก่อนแยกหน่อ จะต้องเลือกหน่อที่แข็งแรง มีใบ 2-3 ใบ ใช้น้ำรดให้ทั่วเพื่อให้ดินนุ่ม ขุดแยกออกมาอย่างระมัดระวัง อย่าให้หน่อช้ำ เมื่อตัดออกมาแล้ว เอาดินกลบโคนต้นแม่ให้เรียบร้อย นำหน่อที่แยกตัดรากที่ช้ำ หรือใบที่มากเกินไปออกบ้าง แล้วนำไปปลูกลงในกระถางหรือดินที่เตรียมไว้ กดดินให้แน่น เสร็จแล้วรดน้ำให้ชุ่ม เก็บไว้ในที่ร่ม ถ้าปลูกลงแปลงก็บังร่มเงาให้จนกว่าต้นจะแข็งแรง ดูแลอย่าให้น้ำขัง
    • การปักชำ พืชสมุนไพร เช่น หญ้าหนวดแมว ขลู่ ดีปลี ปักชำได้ง่าย โดยใช้ลำต้นหรือกิ่ง โดยเลือกกิ่งที่สมบูรณ์ ไม่อ่อนหรือไม่แก่จนเกินไป ใช้มีดหรือกรรไกรที่คม ตัดเฉียงโดยให้กิ่งชำมีตาติดอยู่สัก 3-4 ตา ตัดแล้วริดใบออก ให้เหลือใบแต่น้อย ใช้ปูนแดงทาที่รอยตัดกันเชื้อรา นำไปปักลงบนกระบะที่บรรจุถ่านแกลบดำ หรือดินร่วนปนทราย ผสมแบบเดียวกับการเพาะเมล็ด การปัก ให้ปักตรงๆ ลงไปในดิน ไม้ใหญ่ปักห่างกันหน่อย ไม้เล็กปักถี่หน่อย กลบดินให้แน่น ไม่ให้โยกคลอน การรดน้ำให้สม่ำเสมอ และอย่าให้แฉะ และอย่ารดน้ำแรง จะทำให้กิ่งโยกคลอน เมื่อรากแตกและมีใบเจริญขึ้น ก็ย้ายไปปลูกในที่ที่เตรียมดินไว้
การขยายพันธุ์สมุนไพรโดยไม่อาศัยเพศ
การขยายพันธุ์สมุนไพรโดยไม่อาศัยเพศ
หลักการขยายพันธุ์พืชสมุนไพร
การขยายพันธุ์พืชสมุุนไพรให้ประสบผลสำเร็จต้องมีความรู้ดังนี้ คือ
  1. ต้องมีทักษะในการขยายพันธุ์พืช ผู้ที่จะทำการขยายพันธุ์ไม่ว่าจะเป็นวิธีการตอนกิ่ง การต่อกิ่ง ติดตา และทาบกิ่ง จำเป็นที่จะต้องฝึกปฏิบัติหัดเพื่อให้เกิดความชำนาญ
  2. ต้องรู้จักโครงสร้างภายในต้นพืชและนิสัยการเจริญเติบโตของพืชและควรมีความ รู้พื้นฐานทาง ด้านพฤกษศาสตร์ พืชสวน พันธุศาสตร์ และสรีรวิทยาของพืช ความรู้พื้นฐานเหล่านี้มีส่วนช่วยให้การขยายพันธุ์ประสบผลสำเร็จอย่างมาก
  3. ต้องรู้จักชนิดของพืชและวิธีการขยายพันธุ์ที่ให้ผลแน่นอน ซึ่งพืชแต่ละชนิดมีความยากง่ายในการขยายพันธุ์แตกต่างกัน ดังนั้นจึงจำเป็นที่จะต้องทราบถึงเทคนิคต่างๆ ในพืชแต่ละชนิด ซึ่งความรู้อาจได้จากการศึกษาจากเอกสารทางวิชาการหรือจากผู้ที่มีประสบการณ์ หรืออาจทำการศึกษาทดลองค้นคว้าด้วยตนเอง
ความสำคัญของการขยายพันธุ์พืชสมุนไพร
  1. ความสำคัญต่อการดำรงพันธุ์ของพืชสมุนไพร การขยายพันธุ์โดยอาศัยเพศมักทำให้เกิดการ กลายพันธุ์ ดังนั้นการที่จะคงพันธุ์พืชที่ดีไว้จึงจำเป็นที่จะต้องหาวิธีการขยายพันธุ์ โดยวิธีการอื่นที่ไม่ก่อให้เกิดการกลายพันธุ์ โดยการขยายพันธุ์โดยไม่อาศัยเพศเช่น ตัดชำ ตอนกิ่ง ต่อกิ่งและทาบกิ่งเป็นต้น
  2. เพื่อหาพันธุ์ใหม่สมุนไพรที่ดีกว่าเดิม เช่น การขยายพันธุ์โดยอาศัยเพศ หรือใช้เมล็ดเพาะปลูก ถึงแม้จะทำให้ มีโอกาสกลายพันธุ์ได้มาก แต่การกลายพันธุ์อาจได้พันธุ์ใหม่ที่มีลักษณะที่ดีกว่าเดิม
  3. ความสำคัญต่ออาชีพเกษตร อาชีพเกษตรมีความผูกพันธ์กับการขยายพันธุ์พืชอยู่ตลอดเวลา โดยเฉพาะสาขาพืช ไม่ว่าจะมีอาชีพปลูกพืชชนิดใด จะต้องเกี่ยวข้องกับการขยายพันธุ์เพื่อเพิ่มปริมาณอยู่ตลอดเวลา จึงควรอย่างยิ่งที่เกษตรกรสาขาพืชจะเรียนรู้หลักการและวิธีการขยายพันธุ์พืช ที่ถูกต้อง และเหมาะสมเพื่อช่วยการประกอบอาชีพการเกษตรให้ประสบความสำเร็จและมี ประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
วิธีการขยายพันธุ์พืชสมุนไพร
  1. การตอนกิ่ง คือ การทำให้ส่วนของพืชสมุนไพรเกิดรากในขณะที่ยังติดอยู่กับต้นแม่ คือ ทำให้เกิดรากพิเศษ (adventitious roots) เมื่อกิ่งออกรากดีแล้วก็ตัดไปปลูก ต้นพืชที่ปลูกและตั้งตัวได้ดีแล้ว จะกลายเป็นต้นพืชต้นใหม่ต่อไป การตอนกิ่งเป็นเพียงการตัดท่ออาหาร ส่วนท่อน้ำยังติดอยู่กับต้นแม่จึงทำให้ได้รับน้ำอยู่ตลอดเวลา การออกรากของกิ่งตอนขึ้นอยู่กับความชื้น การถ่ายเทอากาศ และระดับอุณหภูมิที่เหมาะสม สำหรับการตอนกิ่งเป็นวิธีการขยายพันธุ์ไม้ผลวิธีการหนึ่งที่นิยมทำกันมาก เพราะสามารถกระทำได้โดยง่าย สะดวก และใช้อุปกรณ์น้อย
  2. การตัดชำ คือ การตัดส่วนใดส่วนหนึ่งของต้น ใบ หรือรากของพืช แล้วนำมาชำไว้ในสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมเพื่อให้เกิดรากและยอด และพัฒนาเป็นพืชต้นใหม่ โดยที่ต้นใหม่มีลักษณะเหมือนต้นแม่ทุกประการ การตัดชำเป็นวิธีการขยายพันธุ์ที่นิยมใช้กันมากกับสมุนไพร ไม้ดอกไม้ประดับ และไม้ผลบางชนิด รวมทั้งพืชใบกว้างและใบแคบที่มีใบเขียวตลอดปี ทั้งยังเป็นวิธีที่ทำได้ง่ายที่สุดในการขยายพันธุ์แบบไม่อาศัยเพศ
  3. การต่อกิ่งหรือการเสียบกิ่ง คือการสอดส่วนของพืชหรือกิ่งพืชต้นหนึ่งลงบนต้นพืชอีกต้นหนึ่ง และส่วนทั้งสองของพืชจะเชื่อมประสานติดต่อกัน และเจริญไปเป็นพืชสมุนไพรต้นใหม่ โดยส่วนที่อยู่ใต้รอยต่อจะทำหน้าที่เป็นรากดูดน้ำ และแร่ธาตุอาหาร เรียกว่า ต้นตอ (rootstock, understock, stock) และส่วนที่อยู่เหนือรอยต่อจะทำหน้าที่เป็นกิ่งก้านสาขาที่ให้ดอกและผลเร็ว กว่ากิ่งพันธุ์ดี (Scion or cion)
  4. การติดตา เป็นวิธีการขยายพันธุ์ พืชที่นำเอาส่วนตาของพืชต้นหนึ่งไปติดเข้ากับพืชอีก ต้นหนึ่งเพื่อให้ตาของพืชเจริญเติบโตเป็นพืชต้นใหม่ ส่วนต้นตอนั้นเป็นต้นพืชที่ แข็งแรง หาอาหารเก่ง เจริญเติบโตเร็ว ทนต่อสภาพแวดล้อมที่ไม่เหมาะสมได้ดี
  5. การทาบกิ่ง คือ การนำต้นพืชสองต้น ซึ่งมีลักษณะรากและส่วนยอดมาเชื่อมติดให้เป็นต้นเดียวกัน โดยมีเซลล์เนื้อเยื่อเป็นตัวเชื่อม การทาบกิ่งสามารถทำได้ทุกฤดูกาล การได้ผลดีหรือไม่ขึ้นอยู่กับระยะการเจริญเติบโต และชนิดของพืชสมุนไพรที่อยู่ในตระกูลเดียวกัน หลังจากที่รอยต่อเชื่อมกันสนิทดีและต้นตอมีรากในปริมาณที่มากพอจึงตัดกิ่งลง มาชำ
  6. การแยก (Separation) คือ การแยกส่วนของพืชออกจากกัน เช่น การแยกหัวของหอมแบ่ง หรือการแยกกระจุกหัวของแกลดิโอลัส ส่วนการแบ่ง (Division) คือ การตัดออกเป็นชิ้นๆ แต่ละชิ้นมีตาซึ่งจะทำให้กำเนิดเป็นพืชสมุนไพรต้นใหม่ขึ้น เช่น ขิง ข่า ตะไคร้ เป็นต้น
บทความสมุนไพรที่เกี่ยวข้อง:
  1. การเก็บเกี่ยวพืชสมุนไพร เก็บ พืชสมุนไพรให้ถูกต้อง เหมาะสม ในช่วงเวลาที่สมควรเก็บ เก็บแล้วจะได้พืชสมุนไพรที่มีปริมาณของตัวยาสูง มีคุณค่า มีสรรพคุณทางยาดีมาก ดีกว่าเก็บในช่วงที่ไม่เหมาะสม...
  2. การปลูกและบำรุงรักษาพืชสมุนไพร หลัก การทั่วไปของการปลูกและบำรุงรักษาพืชทั่วไปและพืชสมุนไพร ไม่แตกต่างกัน แต่ความอุดมสมบูรณ์ของพืชสมุนไพร จะเป็นเครื่องชี้บอกคุณภาพของสมุนไพรได้ พืชสมุนไพรต้องการการปลูกและบำรุงรักษาใกล้เคียงกับลักษณะธรราชาติของพืช สมุนไพรนั้นมากที่สุด...

Comments (0)

Comments are closed.

การค้นหาที่เกี่ยวข้องกับ วิธี การ ขยาย พันธุ์ พืช

การขยายพันธุ์พืชสมุนไพร

ความรู้ทั่วไป
     การปรับปรุงดินปลูกต้นไม้ในบ้าน
     การขยายพันธุ์พืชสมุนไพร
     การปลูกและบำรุงรักษาพืชสมุนไพร
     วิธีการเก็บส่วนที่ใช้เป็นยา
     สารประกอบทางเคมี-เภสัชวิทยาของสมุนไพร
     ข้อควรรู้ทั่วไปในการใช้ยาสมุนไพร
     ความหมายของคำที่ควรทราบ
     การเปรียบเทียบปริมาตรและปริมาณ
     ข้อควรรู้เกี่ยวกับการปรุงยาไทย
     สิ่งน่ารู้เกี่ยวกับการใช้ยาสมุนไพร
     ประโยชน์ของการใช้ยาสมุนไพร
    สรรพคุณสมุนไพรแบ่งตามกลุ่มอาการ



































 
     
การขยายพันธุ์พืชสมุนไพร
          การขยายพันธุ์  คือ การสืบพันธุ์ของต้นไม้โดยธรรมชาติ ซึ่งเกิดจากการเพาะเมล็ด การแตกหน่อ แตกตา ใช้ไหล หรือเง่าของพืช การขยายพันธุ์พืชทำให้เพิ่มจำนวนของพืชมากขึ้น การขยายพันธุ์พืชสมุนไพร แบ่งเป็น 2 ลักษณะคือ
  1. การขยายพันธุ์พืชโดยอาศัยเพศ  คือการนำเมล็ดที่เกิดจากการผสมระหว่างเกสรตัวผู้และเกสรตัวเมีย ไปเพาะเป็นต้นกล้าให้เจริญเติบโตเป็นต้นใหม่ต่อไป ซึ่งลักษณะต้นใหม่ที่เกิดขึ้นอาจจะมีลักษณะที่ดีกว่าเดิมหรือเลวกว่าเดิมก็ได้
         วิธีการขยายพันธุ์พืชโดยวิธีนี้ มีข้อดีคือ พืชมีรากแก้ว เป็นวิธีที่เหมาะแก่การขยายพันธุ์พืชจำนวนมาก มีวิธีการและขั้นตอนไม่มากนัก แต่มีข้อเสียที่กลายพันธุ์ได้ ต้นใหญ่ และกวาจะออกผลต้องใช้เวลานาน พืชสมุนไพรหลายชนิดเพาะพันธุ์โดยวิธีนี้  เช่น คูน ยอ และฟ้าทะลายโจร วิธีการที่สะดวกและนิยมกันมาก คือการเพาะใส่กระถางหรือถุงพลาสติก วัสดุที่ใช้คือ ขี้เถ้าแกลบดำ ทรายหยาบ หรือดินปนทราย แต่ที่เหมาะที่สุดคือขี้เถ้าแกลบดำ เพราะขี้เถ้าแกลบดำไม่จับตัวแข็ง ร่วนซุย โปร่ง ระบายน้ำได้ดี แดดส่องสะดวก ถุงพลาสติกที่ใช้ต้องเจาะรูให้น้ำไหลได้ วิธีทำโดยใส่ถ่านแกลบลงในถุงพลาสติก เสร็จแล้วล้างถ่านแกลบด้วยน้ำเพื่อให้หมดด่างเสียก่อน ถ้าหากไม่ใช้ถ่านแกลบดำ จะใช้ดินร่วนปนทราย โดยใช้ดินร่วน 2 ส่วน ทรายหยาบ 1 ส่วน ปุ๋ยคอกแห้งป่นละเอียด 1 ส่วน เอามาผสมให้เข้ากันดี หยอดเมล็ดให้ลึกพอประมาณ 2-3 เมล็ด (ถ้าเมล็ดใหญ่ใช้ 1 เมล็ด) ดูอย่าให้แดดจัด รดน้ำพอประมาณวันละครั้ง อย่าให้น้ำขัง เมล็ดจะเน่า เมื่อเมล็ดงอกแล้วให้ถูกแดดบ้าง เมื่อต้นเจริญเติบโตพอควรก็แยกไปปลูกในที่ที่ต้องการได้
  2. การขยายพืชโดยไม่อาศัยเพศ  คือการขยายพันธุ์พืชด้วยส่วนใดส่วนหนึ่งของพืช เช่น กิ่ง หน่อ หัว ใบ เหง้า ไหล เป็นต้น โดยนำไปชำ ตอน แบ่งแยก ติดตา เพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ (Tissue Culture) ให้เกิดเป็นต้นใหม่ขึ้นมาได้
         ข้อดีของการขยายพันธุ์โดยไม่ต้องอาศัยเพศ  คือไม่กลายพันธุ์ สะดวกต่อการดูแลรักษา ได้ผลเร็ว และสามารถขยายพันธุ์พืชที่ยังไม่มีเมล็ดหรือไม่สามารถมีเมล็ดได้ แต่มีข้อเสียคือ ไม่มีรากแก้ว บางวิธีขยายพันธุ์ได้คราวละไม่มาก ต้องใช้เทคนิคและความรู้ช่วยบ้าง เช่น การตอน การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ เป็นต้น
    วิธีการขยายพันธุ์พืชแบบไม่อาศัยเพศมีหลายวิธี ในที่นี้จะแนะนำเฉพาะวิธีที่ใช้บ่อย และนำไปเลือกใช้กับการขยายพันธุ์พืชสมุนไพร ที่จะแนะนำต่อไปได้ ส่วนวิธีการอื่น หากสนใจ สามารถศึกษาได้จากตำราวิชาการด้านการเกษตร
    2.1  การแยกหน่อ หรือ กอ  พืชสมุนไพรบางชนิด เช่น กระชาย กล้วย ตะไคร้ ขิงข่า เตย ว่านหางจระเข้ ขยายพันธุ์โดยการแยกหน่อหรือกอ ทำได้โดยก่อนแยกหน่อ จะต้องเลือกหน่อที่แข็งแรง มีใบ 2-3 ใบ ใช้น้ำรดให้ทั่วเพื่อให้ดินนุ่ม ขุดแยกออกมาอย่างระมัดระวัง อย่าให้หน่อช้ำ เมื่อตัดออกมาแล้ว เอาดินกลบโคนต้นแม่ให้เรียบร้อย นำหน่อที่แยกตัดรากที่ช้ำ หรือใบที่มากเกินไปออกบ้าง แล้วนำไปปลูกลงในกระถางหรือดินที่เตรียมไว้  กดดินให้แน่น เสร็จแล้วรดน้ำให้ชุ่ม เก็บไว้ในที่ร่ม ถ้าปลูกลงแปลงก็บังร่มเงาให้จนกว่าต้นจะแข็งแรง ดูแลอย่าให้น้ำขัง
    2.2  การปักชำ  พืชสมุนไพร เช่น หญ้าหนวดแมว ขลู่ ดีปลี ปักชำได้ง่าย โดยใช้ลำต้นหรือกิ่ง โดยเลือกกิ่งที่สมบูรณ์ ไม่อ่อนหรือไม่แก่จนเกินไป ใช้มีดหรือกรรไกรที่คม ตัดเฉียงโดยให้กิ่งชำมีตาติดอยู่สัก 3-4 ตา ตัดแล้วริดใบออก ให้เหลือใบแต่น้อย ใช้ปูนแดงทาที่รอยตัดกันเชื้อรา นำไปปักลงบนกระบะที่บรรจุถ่านแกลบดำ หรือดินร่วนปนทราย ผสมแบบเดียวกับการเพาะเมล็ด การปัก ให้ปักตรงๆ ลงไปในดิน ไม้ใหญ่ปักห่างกันหน่อย ไม้เล็กปักถี่หน่อย กลบดินให้แน่น ไม่ให้โยกคลอน การรดน้ำให้สม่ำเสมอ และอย่าให้แฉะ และอย่ารดน้ำแรง จะทำให้กิ่งโยกคลอน เมื่อรากแตกและมีใบเจริญขึ้น ก็ย้ายไปปลูกในที่ที่เตรียมดินไว้
 
   

การปลูกเลี้ยงและดูแลรักษา

การปลูกเลี้ยงและดูแลรักษา

ลักษณะโดยทั่วไปลักษณะโดยทั่วไป
เดิมชวนชมเป็นพืชที่มีถิ่นกำเนิดอยู่ในแถบแอฟริกาซึ่งมีสภาพแห้งแล้ง เมื่อนำมาปลูกในสภาพแวดล้อมที่ดีกว่า ดินปลูกที่ดีขึ้น ชวนชมย่อมเจริญเติบโตได้ดีกว่าในดินทรายถิ่นกำเนิดเดิม แต่โครงสร้างของต้นชวนชมก็ยังเป็นไม้อวบน้ำอยู่เช่นเดิม ไม่ได้เปลี่ยนแปลงไปตามสภาพแวดล้อม คือต้นยังอวบน้ำและทนน้ำขังไม่ได้ ดังนั้นดินที่เหมาะในการปลูกชวนชมจึงควรเป็นดินโปร่งร่วนซุย มีการระบายน้ำได้ดีคล้ายดินทราย ผู้ปลูกเลี้ยงส่วนใหญ่จึงนิยมเติมวัสดุปรุงดินต่างๆ เพิ่มลงไปในดินเพื่อให้มีความร่วนซุย เช่น ใบก้ามปู กาบมะพร้าวสับ เปลือกถั่วลิสง แกลบดิบ และทรายหยาบ สูตรดินผสมที่ใช้ปลูกชวนชมได้ดีมีหลายสูตร ดังตัวอย่างต่อไปนี้

สูตรที่ 1

ทราย

ใบไม้ผุหรือแกลบผุ

ปุ๋ยคอกเก่า

ขุยมะพร้าว

1

1

1

1

ส่วน

ส่วน

ส่วน

ส่วน

สูตรที่ 2

ทราย

ขี้เถ้าแกลบ

ปุ๋ยคอกเก่า

ใบก้ามปูผุ

1

1

1

2

ส่วน

ส่วน

ส่วน

ส่วน

สูตรที่ 3

ดิน

แกลบผุ

ปุ๋ยคอกเก่า

กาบมะพร้าวสับ

1

2

1

1

ส่วน

ส่วน

ส่วน

ส่วน

การให้น้ำ

ชวนชมเป็นพืชที่มีลำต้นอุ้มน้ำไว้ค่อนข้างมาก จึงทนต่อสภาพแห้งแล้งได้ดี หากชวนชมอยู่ในสภาพที่แฉะเกินไปหรือมีน้ำขังจะทำให้มีอาการเหี่ยวเฉา ใบเหลืองและร่วง โขดหรือหัวเน่าได้ง่าย ชวนชมเป็นไม้ที่ทนต่อสภาพแห้งแล้งและฟื้นตัวได้ง่าย เช่น ถ้างดน้ำประมาณ 1 สัปดาห์ ลักษณะต้นจะนิ่ม เมื่อได้รับน้ำและปุ๋ยอีกครั้งชวนชมจะแตกใบขึ้นมาใหม่ แต่ถ้าขาดน้ำนานเกินไปใบจะเหี่ยวหรือไหม้ตามขอบใบ ดอกจะเหี่ยวและร่วงเร็ว ชวนชมต้นที่ยังอ่อนต้องให้น้ำแต่น้อย ถ้าต้นอ่อนได้น้ำมากจะทำให้เน่าได้ง่าย การให้น้ำพอดีจะทำให้ต้นเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว ถ้าเป็นชวนชมต้นใหญ่ควรให้น้ำวันละครั้ง สำหรับช่วงฤดูฝนอาจเว้นการรดน้ำบ้างตามความเหมาะสม น้ำที่ใช้รดควรเป็นน้ำที่สะอาดและไม่ควรรดน้ำให้โดนดอกเพราะจะทำให้กลีบดอกช้ำและร่วงเร็ว

การให้ปุ๋ย

ชวนชมเป็นพืชที่ต้องการปุ๋ยไม่มากนัก การใส่ปุ๋ยมากเกินไปนอกจากจะสิ้นเปลืองแล้วยังทำให้ชวนชมเน่าได้ง่าย ชวนชมต้นเล็กต้องการธาตุอาหารไม่มาก ควรใส่ปุ๋ยที่มีตัวหน้าสูง เช่น 15-5-5 หรือสูตรเสมอ 15-15-15 ในปริมาณน้อยๆ ทุก 2 สัปดาห์ ประมาณ 1-2 เดือน เมื่อต้นโตเต็มที่พร้อมที่จะออกดอกจึงเปลี่ยนเป็นปุ๋ยเร่งดอกสูตร 8-24-24 ทุกๆ 2 สัปดาห์ ประมาณ 1-2 เดือนชวนชมจะออกดอก หลังจากนั้นบำรุงต้นโดยให้ปุ๋ยสูตรเสมอเดือนละครั้ง และให้ธาตุอาหารเสริมประมาณ 3 เดือนครั้ง สำหรับชวนชมที่ติดฝักควรเว้นระยะการให้ปุ๋ยให้ห่างขึ้นและลดปริมาณการให้ปุ๋ยให้น้อยลง

การตัดแต่งกิ่ง

ธรรมชาติของชวนชมจะมีลักษณะทรงต้นและการบิดตัวที่สวยงามอยู่แล้ว แต่ก็ยังมีความจำเป็นที่ต้องมีการตัดแต่งบังคับรูปทรงให้เป็นไปตามต้องการ โดยเฉพาะชวนชมที่มีอายุตั้งแต่ 3 ปีขึ้นไปหรือต้นที่โตแล้ว มีกิ่งก้านสาขาเก้งก้างไม่เป็นพุ่มสวยงาม การตัดกิ่งควรตัดกิ่งก้านที่แตกออกมาเกะกะไม่เป็นระเบียบ กิ่งที่พาดทับกันไปมา กิ่งที่ตาย กิ่งที่ฉีกหัก กิ่งที่คดไปมา และกิ่งที่เป็นโรคออกบ้าง เพื่อช่วยเปิดให้แสงและอากาศถ่ายเทได้สะดวก ลักษณะทรงพุ่มเป็นระเบียบสวยงาม สำหรับพันธุ์ที่ไม่ค่อยแตกกิ่งก้าน สูงชะลูด ลำต้นอาจหักเมื่อโดนลมแรง อาจตัดยอดไปขยายพันธุ์ เพื่อให้ส่วนโคนที่เหลือแตกกิ่งออกมาใหม่ การตัดควรใช้มีดที่คมและสะอาดตัดให้ชิดลำต้น ไม่ควรเหลือตอกิ่งไว้ ถ้ารอยตัดมีขนาดโตกว่า 1 ซม. ควรใช้ปูนแดงทาที่รอยตัดเพื่อป้องกันเชื้อรา

การเลี้ยงโขด

การปลูกเลี้ยงชวนชมในอดีตส่วนใหญ่ปลูกเลี้ยงเพื่อให้มีดอกไว้ชื่นชมเพียงอย่างเดียว เมื่อมีชวนชมพันธุ์ลูกผสมจากต่างประเทศ โดยเฉพาะสายพันธุ์ฮอลแลนด์ซึ่งมีโขดเป็นจุดเด่นและมีลักษณะสวยงาม จึงทำให้ผู้ปลูกเลี้ยงนิยมเลี้ยงชวนชมให้มีดอกดกสวยงามควบคู่ไปกับการเลี้ยงโขดให้มีโขดใหญ่สวยงาม โขดยิ่งมีขนาดใหญ่ได้สัดส่วนยิ่งจะโดดเด่นสวยงามและมีราคาแพง การทำให้ชวนชมมีโขดใหญ่จะต้องทำให้รากชวนชมสะสมอาหารไว้ให้มากที่สุด เพราะโขดของชวนชมคือส่วนหนึ่งของราก จึงต้องให้โขดเจริญเติบโตใต้ดินตั้งแต่แรกปลูก และเมื่อชวนชมอายุได้ขนาดจะต้องเปลี่ยนกระถางให้ใหญ่ขึ้นเป็นระยะทุก 4-5 เดือน เพื่อเพิ่มพื้นที่ให้โขดได้เจริญเติบโต ถ้าปลูกเลี้ยงในพื้นที่จำกัดโขดจะมีขนาดเล็ก เมื่อโขดมีขนาดใหญ่และได้รูปร่างตามต้องการแล้วจึงเปลี่ยนเป็นกระถางสำหรับโชว์โขดโดยเฉพาะ ทั้งนี้รวมเวลาจนถึงโขดมีขนาดใหญ่ตามที่ต้องการอาจต้องใช้เวลานับปี สำหรับโขดที่ปลูกโชว์ควรปลูกให้สูงเหนือดินขึ้นมาประมาณ 3 ใน 4 ส่วนของโขด

การทำให้ออกดอกและติดฝัก

เนื่องจากชวนชมเป็นไม้ที่ชอบแสงแดดจึงควรปลูกกลางแจ้งจะทำให้ชวนชมออกดอกตลอดปี ที่สำคัญคือดินปลูกต้องมีธาตุอาหารอุดมสมบูรณ์ จึงจะทำให้ชวนชมออกดอกดก ติดฝักดี เมื่อชวนชมถึงระยะที่แข็งแรงสมบูรณ์พร้อมที่จะออกดอก ให้ใช้ปุ๋ยเร่งดอกสูตร 0-25-25 พร้อมทั้งให้โฮโมนทางใบ หลังจากใส่ปุ๋ยประมาณ 1 เดือน ชวนชมจะออกดอก และระยะตั้งแต่ดอกตูมเล็กๆ จนถึงดอกบานใช้เวลาประมาณ 1 เดือน สำหรับในหน้าฝนชวนชมจะมีดอกน้อยและต้องระวังการเกิดโรคเน่า เพราะถ้าชวนชมได้รับน้ำมากจนแฉะจะทำให้เกิดโรคเน่าและตายได้

ขยายพันธุ์กุหลาบ

การขยายพันธุ์
              ในการขยายพันธุ์กุหลาบเราสามารถทำได้หลายวิธี เช่น การตัดชำ  การติดตา การตอนกิ่ง และการเพาะเมล็ด  บางครั้งเพื่อให้ได้ต้นกุหลาบที่มีรากแข็งแรง และให้ผลผลิตสูงเกษตรกรมักนิยมกุหลาบพันธุ์ดีที่ติดตาบนตอกุหลาบป่า
 
การตอนกิ่ง
           วิธีนี้เป็นที่นิยมมาก เพราะทำได้ง่ายและเห็นผลเร็ว กิ่งที่เลือกต้องเป็นกิ่งที่สมบูรณ์ ไม่มีโรคหรือแมลงทำลาย  ไม่อ่อนหรือแก่เกินไป คือสีเปลือกเขียวเข้มจนถึงน้ำตาลอ่อน  เปลือกล่อนออกจากกิ่งได้ง่าย วิธีตอนที่นิยมทำคือ การตอนแบบหุ้มกิ่ง โดยใช้มีดคมๆ ควั่นเปลือกรอบกิ่ง 2 รอย ห่างกันประมาณ 2.5-3 ซม. ให้รอยควั่นด้านบนอยู่ใต้ตาเล็กน้อย  กรีดตามยาวและลอกเอาเปลือกออก แล้วใช้สันมีดขูดเมือก ออกให้หมด จากนั้นนำขุยมะพร้าวที่แช่น้ำจนอิ่มตัวหุ้มตรงรอยควั่น นำถุงพลาสติกมาหุ้มทับอีกที แล้วมัดด้วยเชือกที่หัวท้ายให้แน่น กิ่งตอนจะเริ่มออกรากในเวลา 2-3 สัปดาห์
การติดตา
           นิยมติดตาพันธุ์ดีบนต้นตอกุหลาบป่า ได้แก่ Rosa multiflora หรือ R.indical (R. chinensis) ซึ่งมี ความแข็งแรงและทนทาน ก่อนทำการติดตาต้องเตรียมต้นตอและเลือกตาพันธุ์ดีที่จะนำมาติด ควรเลือกต้นกุหลาบป่าที่กำลังเจริญเติบโต เปลือกล่อนจากเนื้อ  ตาที่ใช้ควรเป็นตาจากกิ่งที่ดอกเริ่มเหี่ยวประมาณ ตาที่ 3-4 นับจากตาแรกที่อยู่ใกล้ดอกลงมาหรือเลือกจากกิ่งที่สมบูรณ์เต็มที่  โดยเลือกเอาตาที่นูนเด่นชัด วิธีการที่นิยมทำคือ การติดตาแบบตัวที (T-budding) โดยกรีดต้นตอตามทางยาวประมาณ 3-4 ซม. แล้วตัดขวางชิดกับรอยกรีดด้านบน ใช้มีดเผยอเปลือกตามรอยกรีดด้านบนออกทั้งสองข้าง จากนั้นใช้มีดเฉือนตาจากกิ่งพันธุ์ดีที่เตรียมไว้ให้เท่ากับแผลบนต้นตอ นำแผ่นตาสอดลงไปในแผลบนต้นตอ พันด้วยพลาสติกให้แน่น หลังจากติดตา 7-10 วัน ถ้าแผ่นตายังเป็นสีเขียวแสดงว่าการติดตาได้ผล การขยายพันธุ์ด้วยการติดตานี้ทำให้กุหลาบของเรามีดอกได้หลายสีในต้นเดียวกัน
 
การปักชำกิ่ง
           วัสดุปักชำ ได้แก่ ทรายหยาบผสมกับขี้เถ้าแกลบ ในปริมาณเท่าๆ กัน กิ่งที่จะใช้ปักชำควรเป็นกิ่งที่มีดอกเริ่มแย้ม  หรือกิ่งที่ดอกบานไปแล้วไม่ถึงหนึ่งสัปดาห์ ตัดให้มีความยาว 5-6 นิ้ว มีใบติด 3-5 ใบ ขึ้นไป ตัดแล้วนำไปจุ่มในน้ำก่อนนำไปปักชำ ช่วงเวลาในการตัดกิ่งควรเป็นตอนเช้าหรือตอนเย็น วิธีนี้นิยมใช้ขยายพันธุ์กุหลาบหนู
 
การเพาะเมล็ด
            จะต้องให้เมล็ดผ่านอุณหภูมิต่ำชั่วระยะเวลาหนึ่งจึงจะงอก โดยธรรมชาติของกุหลาบจะติดเมล็ดในอากาศหนาวหรือเขตอบอุ่น  เมล็ดจึ่งไม่สามารถงอกได้ทันทีที่อุณหภูมิห้องปกติ เมื่อนำเมล็ดกุหลาบไปเพาะในภาชนะที่ใส่วัสดุเพาะ เช่น ขุยมะพร้าวที่ชื้นคลุมด้วยถุงพลาสติกแล้ว จะต้องนำไปเพาะในตู้เย็นประมาณ 3-4 สัปดาห์ จะมีจำนวนเมล็ดงอกประมาณ 5 เปอร์เซ็นต์ แล้วจึงนำออกมาไว้ข้างนอก เมื่อต้นกล้างอกหมด แล้วจึงย้ายลงกระถางหรือถุงชำ
 

การขยายพันธุ์

การขยายพันธุ์โดยไม่มีการผสมเกสร

หมายถึงการนำส่วนใดส่วนหนึ่งของกล้วยไม้ที่ไม่ใช่ผลจากการผสมเกสรไปขยายพันธุ์ เป็นวิธีที่ง่ายและสะดวก การขยายพันธุ์วิธีนี้จะได้ต้นใหม่ที่มีสายพันธุ์เหมือนต้นพันธุ์เดิมทุกประการ เป็นวิธีที่เหมาะสำหรับการขยายพันธุ์กล้วยไม้ต้นที่มีคุณลักษณะดีอยู่แล้ว เช่น มีความสวยงามเป็นพิเศษ หรือมีลักษณะที่เหมาะสมแก่การเป็นกล้วยไม้ตัดดอก การขยายพันธุ์กล้วยไม้โดยไม่มีการผสมเกสรแบ่งวิธีการขยายพันธุ์ตามลักษณะการเจริญเติบโตของกล้วยไม้ ดังนี้

การตัดแยกกล้วยไม้ประเภทแตกกอ

กล้วยไม้ที่มีการเจริญเติบโตแบบประเภทแตกกอหรือแบบซิมโพเดียล เช่น หวาย แคทลียา เมื่อหน่อหรือลูกกล้วยใดผลิดอกและต้นเริ่มร่วงโรย หน่อนั้นจะแตกหน่อใหม่ออกมาทดแทนทำให้กอแน่นขึ้น หากปล่อยให้กอแน่นเกินไปกล้วยไม้อาจทรุดโทรมเพราะมีธาตุอาหารไม่เพียงพอ เมื่อเห็นกอแน่นควรตัดแยกไปปลูกใหม่จะได้ประโยชน์ 2 ทาง คือ ได้กล้วยไม้เพิ่มขึ้นและทำให้กล้วยไม้เจริญงอกงามดี การตัดแยกกล้วยไม้ไม่ควรทำในช่วงที่กล้วยไม้พักตัวในช่วงฤดูหนาว ควรทำในช่วงต้นฤดูร้อนซึ่งเป็นช่วงที่ต้นไม้เจริญเติบโตดีและแตกหน่อใหม่ เครื่องมือที่ใช้ในการขยายพันธุ์คือมีดและปูนแดง สำหรับการขยายพันธุ์สามารถทำได้หลายวิธีคือ

การตัดแยกลำหลัง

เป็นวิธีการขยายพันธุ์ที่ใช้ได้กับกล้วยไม้ประเภทแตกกอที่มีลำลูกกล้วย เช่น กล้วยไม้สกุลแคทลียา สกุลหวาย สกุลออนซิเดี้ยม เมื่อปลูกเลี้ยงนานจะมีกอขนาดใหญ่ขึ้นและมีลำลูกกล้วยมากขึ้น ถ้าไม่มีการตัดแยกออกจะทำให้ต้นทรุดโทรมและออกดอกน้อย การตัดแยกลำหลังนอกจากจะเป็นการขยายพันธุ์แล้ว ยังเป็นการกระตุ้นให้กล้วยไม้เจริญเติบโตเร็วขึ้นและออกดอกง่ายขึ้นด้วย
การตัดแยกลำหลัง กล้วยไม้ที่จะตัดแยกควรมีลำลูกกล้วยอย่างน้อย 4 ลำ เพราะการตัดแยกแต่ละต้นที่ตัดแยกควรมีลำลูกกล้วยอย่างน้อย 2 ลำ และควรตรวจดูตาที่โคนลำหลังถ้าตาแห้งตายไปแล้วการตัดแยกจะไม่ได้ผล ใช้มีดหรือกรรไกรตัดแต่งกิ่งไม้ชนิดใบบางที่คมๆ สอดเข้าไประหว่างลำลูกกล้วยแล้วตัดส่วนของเหง้าให้ขาดจากกัน ใช้ปลายมีดแบนๆ ป้ายปูนแดงแล้วทาที่บาดแผลให้ทั่ว เพื่อให้แผลแห้งและเป็นการป้องกันเชื้อโรคที่อาจจะเข้าทำลายทางบาดแผลด้วย เนื่องจากลำหลังเป็นลำแก่ที่อยู่ในระยะฟักตัว ถ้ายกไปปลูกเลยรากแก่อาจจะชำรุดได้ รากใหม่ก็ไม่มีโอกาสเจริญออกมา จะทำให้การแตกหน่อล่าช้าและได้หน่อใหม่ที่ไม่แข็งแรง การตัดแยกเพื่อให้เกิดลำใหม่เร็วควรทำในช่วงต้นฤดูร้อน ซึ่งเป็นระยะที่ต้นกล้วยไม้เริ่มจะเกิดหน่อใหม่หลังจากฟักตัวในช่วงฤดูหนาว หน่อใหม่จะเจริญเติบโตขึ้นมาพร้อมที่จะยกออกไปปลูกได้ในช่วงฤดูฝนพอดี

การตัดแยกลำหน้า

เป็นวิธีการขยายพันธุ์ที่ใช้กับกล้วยไม้ประเภทแตกกอทุกชนิด ลำหน้าเป็นลำกล้วยไม้ที่กำลังเจริญเติบโตและเป็นลำที่จะให้ดอก จึงไม่ค่อยนิยมตัดแยกลำหน้าไปปลูกใหม่ นอกจากมีความจำเป็นในบางกรณี เช่น กล้วยไม้เจริญเติบโตเป็นกอใหญ่จนเต็มล้นกระถางปลูกหรือเครื่องปลูกเน่าเปื่อยผุพัง จำเป็นต้องรื้อออกจากกระถางเก่าทั้งหมดแล้วนำไปตัดแบ่งแยกปลูกใหม่ หรือเป็นการตัดแยกลำหน้าเพื่อจำหน่ายซึ่งได้ราคาสูงกว่าการจำหน่ายกล้วยไม้ลำหลัง
วิธีการตัดแยกลำหน้า ใช้หลักเกณฑ์เดียวกันกับการแยกลำหลังไปปลูก คือปล่อยให้ลำหน้าเจริญเต็มที่จนถึงสุดขีดแล้วจะแตกหน่อใหม่จากตาจนกระทั่ง หน่อที่เกิดใหม่มีรากโผล่ออกมาจึงตัดแยกไปปลูก โดยใช้มีดหรือกรรไกรตัดแยกลำหน้า 2 ลำติดกัน แล้วแยกไปปลูกได้เลย ซึ่งต่างจากการตัดแยกลำหลังที่ต้องปล่อยทิ้งไว้ให้แตกหน่อใหม่ก่อนจึงจะยกไป ปลูกได้ ระยะเวลาที่เหมาะที่สุดในการตัดแยกลำหน้าคือ เมื่อลำหน้าสุดมีรากและรากยาวไม่เกิน 1 เซนติเมตร การนำลำหน้าไปปลูกควรระวังอย่าให้รากอ่อนของลำหน้าสุดบอบช้ำ

การตัดชำ

กล้วยไม้ การขยายพันธุ์ด้วยวิธีตัดชำใช้กับกล้วยไม้ประเภทแตกกอบางชนิด เช่น กล้วยไม้สกุลหวาย ซึ่งเมื่อนำลำลูกกล้วยมาปักชำในที่เหมาะสมตาที่อยู่ตามข้อของลำลูกกล้วยจะแตกออกเป็นลำใหม่ได้ สำหรับลำหวายที่จะนำมาปักชำควรเป็นลำหลังที่ใบร่วงหมดแล้ว ถ้ายังมีใบติดอยู่ควรปลิดออกให้หมดและตัดรากออกให้หมด นำมาปักชำในกระบะทรายหยาบหรือกาบมะพร้าวอัดในแนวตั้งโดยให้โคนลำฝังลงไปประมาณ 2-3 ซม. ห่างกันประมาณ 4-5 ซม. เก็บไว้ในที่มีแสงแดดค่อนข้างจัด ให้โดนแดดเต็มที่เกือบครึ่งวัน รดน้ำให้ชุ่มวันละ 2–3 ครั้ง ตาที่อยู่ใกล้ปลายลำจะแตกเป็นลำใหม่ เรียกว่า “ตะเกียง” เมื่อลำตะเกียงเริ่มเกิดรากจึงตัดนำไปปลูกได้

การตัดแยกกล้วยไม้ประเภทไม่แตกกอ

กล้วยไม้ที่มีการเจริญเติบโตแบบประเภทไม่แตกกอหรือแบบโมโนโพเดียล ได้แก่ ช้าง เข็ม เอื้องกุหลาบ แวนด้า การขยายพันธุ์โดยการตัดแยกทำได้หลายวิธี เช่น ถ้ามีหน่อออกมาจากโคนต้น ให้ตัดหน่อโดยติดรากไปด้วย 1-3 ราก แล้วนำไปปลูกใหม่ หรือใช้วิธีตัดยอดให้ติดราก 1-2 ราก แล้วนำไปปลูกใหม่ หากตัดยอดออกไปแล้วมีหน่อเกิดขึ้นก็สามารถแยกหน่อออกไปปลูกได้เช่นกัน

การตัดยอด

เป็นการขยายพันธุ์อีกวิธีหนึ่งที่ใช้กับกล้วยไม้ประเภทไม่แตกกอ เช่น กล้วยไม้สกุลแวนด้า สกุลช้าง สกุลเข็ม สกุลกุหลาบ สกุลเสือโคร่ง สกุลแมลงปอ และสกุลเรแนนเธอร่า กล้วยไม้ที่จะทำการตัดยอดควรควรเป็นกล้วยไม้ที่เจริญเติบโตแข็งแรงและสูงพอสมควร มีรากติดอยู่กับส่วนยอดที่ต้องการตัดอย่างน้อย 2–3 รากขึ้นไป ถ้ามีรากติดอยู่กับส่วนยอดยิ่งมากยิ่งดี เพราะเมื่อนำยอดไปปลูกแล้วจะทำให้แข็งแรงและตั้งตัวเร็วขึ้น วิธีการตัดยอดโดยใช้มีดหรือกรรไกรที่คมและสะอาดตัด แล้วใช้ปูนแดงทาที่รอยตัดทั้งส่วนต้นและส่วนยอดเพื่อป้องกันเชื้อโรคเข้าบาดแผล นำส่วนยอดไปปลูกในที่ร่มหรือที่ที่มีแสงแดดน้อยกว่าปกติจนกว่ายอดนั้นจะตั้งตัวได้ จึงนำไปไว้ในที่ที่มีสภาวะปกติซึ่งจะใช้เวลาประมาณ 1–2 เดือน สำหรับส่วนต้นเมื่อนำไปปลูกก็จะมีหน่อหรือตะเกียงเกิดขึ้น

การแยกหน่อหรือตะเกียง

กล้วยไม้ เนื่องจากกล้วยไม้ประเภทไม่แตกกอมีการเจริญเติบโตทางยอดคือยอดจะยาวสูงขึ้น ไปเรื่อยๆ และจะมีการแตกหน่อจากตาที่อยู่ข้างลำต้นเป็นหน่อหรือตะเกียง สำหรับต้นที่ไม่มีหน่อหรือตะเกียงเมื่อถูกตัดยอดไปปลูกจะทำให้ต้นที่ถูกตัด แตกหน่อได้ง่ายขึ้น หน่อหรือตะเกียงนี้สามารถตัดแยกไปปลูกใหม่ได้ การตัดแยกหน่อหรือตะเกียงไปปลูกใหม่ควรเป็นหน่อหรือตะเกียงที่เจริญเติบโตพอ สมควร มีรากที่แข็งแรงและยาวพอสมควรติดอยู่อย่างน้อย 2–3 รากและมีใบ 2–3 คู่ ใช้มีดหรือกรรไกรคมๆ ตัดยอดกล้วยไม้ที่มีตะเกียงติดอยู่ ตรงบริเวณใต้ตะเกียงประมาณ 2-3 เซนติเมตร หรือตัดเฉพาะตะเกียงที่มีหน่อติดอยู่ ใช้ปูนแดงทาที่บาดแผลเพื่อป้องกันโรค นำหน่อหรือตะเกียงไปปลูกไว้ในที่ร่มจนกว่าจะตั้งตัวได้จึงนำไปไว้ในที่มี สภาพเหมาะสมตามปกติ ฤดูกาลที่เหมาะแก่การตัดแยกคือต้นฤดูฝนเพราะเป็นฤดูที่กล้วยไม้กำลังเจริญ เติบโตเมื่อตัดแยกไปปลูกรากจะเจริญเกาะเครื่องปลูกได้เร็วกว่าฤดูอื่น ไม่ทำให้การเจริญเติบโตหยุดชะงัก

การเพาะเนื้อเยื่อ

การเพาะเนื้อเยื่อกล้วยไม้หรือที่เรียกกันว่า "การปั่นตา" เป็นการขยายพันธุ์กล้วยไม้ที่ทำให้ได้ต้นที่มีลักษณะพันธุ์เหมือนเดิมเป็น ปริมาณมากในเวลาอันรวดเร็ว โดยการนำเนื้อเยื่อจากส่วนต่างๆ ของกล้วยไม้ เช่น ตายอด ตาข้าง ปลายใบอ่อน มาเลี้ยงด้วยอาหารสังเคราะห์ ในสภาพปลอดเชื้อและมีการควบคุมสภาพแวดล้อม เช่น แสง อุณหภูมิ ให้เหมาะสมกับการเจริญเติบโตต้นที่ได้จากการขยายพันธุ์วิธีนี้อาจมีโอกาส กลายพันธุ์ไปในทางที่ดีขึ้นหรือเลวลงแต่ก็พบได้ยาก
ระยะเวลาในการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อตั้งแต่เริ่มต้นจนถึงนำไปปลูกได้ต้องใช้เวลาอย่างน้อยประมาณ 10 เดือน แต่ส่วนใหญ่จะใช้เวลานานกว่านี้ ขึ้นอยู่กับชนิดของกล้วยไม้ ความสมบูรณ์ของหน่อ เทคนิคในการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ สูตรอาหารสังเคราะห์ และสภาพแวดล้อม ขั้นตอนสำคัญในการเพาะเนื้อเยื่อกล้วยไม้ พอสรุปได้ดังนี้
  • เลือกชิ้นส่วนของกล้วยไม้ที่มีเนื้อเยื่อเจริญที่สามารถพัฒนาเป็นต้นอ่อนได้ เช่น กล้วยไม้สกุลหวายใช้หน่ออ่อน ตาข้าง ตายอด ดอกอ่อน กล้วยไม้คัทลียาใช้หน่ออ่อน ตาข้าง ตายอด ปลายใบอ่อน กล้วยไม้สกุลแวนด้าและลูกผสมใช้ยอดอ่อนที่มีตาข้างและตายอด ช่อดอกอ่อน เป็นต้น
  • ฟอกฆ่าเชื้อที่ผิวชิ้นส่วนกล้วยไม้ให้ปลอดเชื้อจุลินทรีย์ก่อนตัดส่วนเยื่อเจริญออกไปเพาะเลี้ยง
  • การเลี้ยงชิ้นส่วนหรือตาในระยะแรก เมื่อฟอกฆ่าเชื้อแล้วใช้มีดเจาะตาขนาดเล็กไม่เกิน 0.5 เซนติเมตร นำไปเลี้ยงในอาหารเหลวหรืออาหารแข็งสูตรที่เหมาะสม ตาจะมีโปรโตคอร์ม (protocorm) สีเขียวแตกออกมารอบๆ ระยะนี้ต้องเปลี่ยนอาหารทุกสองสัปดาห์
  • การเพิ่มจำนวนโปรโตคอร์มโดยคัดเลือกโปรโตคอร์มที่เป็นก้อนกลมไม่มีใบยอด ไปเลี้ยงในอาหารสูตรที่เหมาะสมเพื่อเพิ่มจำนวนโปรโตคอร์ม ถ้าโปรโตคอร์มพัฒนาเป็นยอดต้องตัดยอดทิ้งเพื่อให้เกิดการแตกโปรโตคอร์ม
  • การเลี้ยงโปรโตคอร์มให้เป็นต้น เมื่อได้จำนวนโปรโตคอร์มตามต้องการแล้ว ย้ายไปเลี้ยงในอาหารแข็งสูตรที่เหมาะสม ให้โปรโตคอร์มแต่ละหน่วยเจริญเติบโตเป็นต้นกล้ามีใบยอดและราก เมื่อต้นสูงประมาณ 2-3 เซนติเมตร ก็คัดแยกแต่ละต้นย้ายไปเลี้ยงในวุ้นอาหารสูตรถ่ายขวดประมาณ 50 ต้นต่อขวด เพื่อให้เจริญเติบโตแข็งแรง พร้อมที่จะนำออกปลูกภายนอกได้

การขยายพันธุ์โดยการผสมเกสรและเพาะเมล็ด

การขยายพันธุ์โดยการผสมเกสรนี้อาจทำให้ได้คุณภาพของกล้วยไม้ที่ผสมได้เปลี่ยนไปบ้างแต่ไม่มากนัก การขยายพันธุ์เพื่อเปลี่ยนแปลงคุณลักษณะของกล้วยไม้ให้ดีขึ้น จำเป็นต้องคัดเลือกพันธุ์ที่ดีมาผสมกัน ตัวอย่างเช่น เมื่อนำแวนด้า 2 ต้น ต้นหนึ่งดอกใหญ่ แต่สีไม่สด ช่อดอกไม่ยาว ส่วนอีกต้นหนึ่งดอกเล็ก แต่สีสด ก้านช่อยาว นำมาผสมกัน เพื่อให้ได้กล้วยไม้ที่มีลักษณะดีขึ้น ดอกใหญ่ สีสด ก้านช่อยาวและเลี้ยงง่ายขึ้น แต่ผลที่ได้จะสำเร็จตามต้องการหรือไม่ต้องรอจนกระทั่งกล้วยไม้ที่ผสมใหม่นั้นออกดอก ในการผสมพันธุ์กล้วยไม้จะได้ผลหรือไม่ขึ้นอยู่กับปัจจัยต่างๆ ดังนี้
  • กล้วยไม้ที่ผสมกันได้ต้องเป็นกล้วยไม้ที่มีการเจริญแบบเดียวกัน เช่น กล้วยไม้ประเภทโมโนโพเดียลซึ่งเจริญเติบโตทางยอดต้องผสมกับกล้วยไม้ประเภทโมโนเดียลด้วยกัน จะผสมกับกล้วยไม้ประเภทซิมโพเดียลซึ่งเจริญเติบโตแบบแตกหน่อออกมาด้านข้างไม่ได้
  • กล้วยไม้ที่ผสมกันถ้าอยู่ในสกุลเดียวกันจะผสมกันได้ง่ายกว่า เช่น กล้วยไม้สกุลแวนด้าผสมกับกล้วยไม้สกุลแวนด้าด้วยกัน หรือกล้วยไม้สกุลข้างผสมกับสกุลช้างด้วยกัน
  • การผสมเกสรกล้วยไม้ต้องเลือกพ่อแม่พันธุ์ที่เจริญเติบโตเต็มที่ ถ้าต้นเล็กหรือลำต้นไม่แข็งแรงอาจทำให้อาหารที่มาเลี้ยงฝักไม่เพียงพอ เป็นผลให้ฝักไม่สมบูรณ์ เมื่อนำเมล็ดไปเพาะแล้วลูกไม้ที่เกิดมาอาจไม่แข็งแรงเลี้ยงยาก
  • ระยะเวลาที่เหมาะสมและความสมบูรณ์ของดอก คือ ดอกกล้วยไม้ที่บานเต็มที่ทั้งดอกแม่พันธุ์และพ่อพันธุ์ โดยลักษณะดอกที่บานเท่ากัน ไม่บานน้อยหรือบานมานานจนจวนจะโรย สำหรับระยะเวลาที่เหมาะสมในการทำการผสมพันธุ์ควรเป็นเวลาเช้า แสงแดดยังไม่จัดและไม่มีฝนตก
การผสมพันธุ์กล้วยไม้ นอกจากต้องคำนึงถึงดอกกล้วยไม้ที่ต้องบานเต็มที่ การผสมพันธุ์ต้องทำตอนเช้า เวลาที่ไม่มีแสงแดด ฝนไม่ตกแล้ว ยังต้องคำนึงถึงเรื่องความสะอาดของอุปกรณ์หรือไม้ที่ใช้เขี่ยเกสรตัวผู้ต้อง สะอาดปราศจากเชื้อรา เมื่อปัจจัยทุกอย่างพร้อมจึงเริ่มทำการผสมพันธุ์กล้วยไม้ โดยนำไม้จิ้มฟันที่สะอาดเขี่ยเกสรตัวผู้ของต้นที่ต้องการให้เป็นพ่อพันธุ์ ซึ่งมีเรณูอยู่มากมายใส่ลงที่ยอดเกสรตัวเมียของต้นแม่พันธุ์ซึ่งเป็นแอ่ง ในแอ่งนี้มีน้ำเมือกเหนียวๆ ใสคล้ายแป้งเปียก เมื่อนำก้อนเกสรตัวผู้ใส่ลงไปแล้ว น้ำเมือกจะช่วยให้ก้อนเกสรตัวผู้ติดอยู่ได้ ก้อนเกสรตัวผู้ที่เป็นสีเหลืองจะละลายอ่อนตัวกลืนเข้ากับน้ำเมือก เรณูของเกสรตัวผู้แต่ละเม็ดจะงอกเป็นหลอดเข้าไปในก้านดอกหรือรังไข่ หลอดแต่ละหลอดจะเข้าไปผสมกับไข่ตัวเมีย ไข่นั้นจะเกิดเป็นเชื้อที่สมบูรณ์ แล้วรังไข่ก็จะพองโตเกิดเป็นฝัก ฝักของกล้วยไม้จะแก่ต้องใช้เวลานาน เช่น ฝักของกล้วยไม้สกุลหวายใช้เวลาประมาณ 4–5 เดือน ฝักของกล้วยไม้สกุลแวนด้าใช้เวลาประมาณ 7–8 เดือน แต่ถ้าเป็นฝักของฟ้ามุ่ยจะต้องใช้เวลาประมาณ 17–18 เดือน การเพาะฝักกล้วยไม้จะเพาะฝักแก่หรือฝักอ่อนก็ได้ ฝักอ่อนกล้วยไม้มีสีเขียวแต่พอเริ่มแก่จะเริ่มเปลี่ยนเป็นสีเหลืองและเป็นสี น้ำตาลเมื่อแกจัด ขณะที่ฝักเริ่มเปลี่ยนเป็นสีเขียวอมเหลืองหรือสีเหลืองต้องระวังไม่ให้ถูก น้ำ ฝักกล้วยไม้สุกจะมีสีเหลืองแบบมะนาวสุกแสดงว่าฝักสุก เก็บฝักไปเพาะได้ อย่ารอให้ฝักเป็นสีน้ำตาล เพราะฝักจะแตก
การเพาะฝักอ่อนต้องเป็นฝักอ่อนที่มีเชื้อสมบูรณ์แล้ว หลังจากผสมแล้ว ไข่จะกลายเป็นเชื้อที่สมบูรณ์ได้นั้น ขึ้นอยู่กับชนิดของกล้วยไม้ เช่น หวายประมาณ 45 วัน แวนด้าประมาณ 80–90 วัน หรือใช้เวลาประมาณ 1 ใน 3 ของระยะฝักแก่ ฝักอาจแก่เร็วหรือช้า ขึ้นอยู่สิ่งแวดล้อม เช่น แสงสว่าง ความชุ่มชื้น และความสมบูรณ์ เป็นต้น
หลังจากการผสมพันธุ์กล้วยไม้จนได้ฝักแล้วจึงนำเมล็ดภายในฝักมาทำการ เพาะเมล็ด ฝักแต่ละฝักมีเมล็ดจำนวนมากตั้งแต่ 1,000 - 4,000,000 เมล็ด เมล็ดกล้วยไม้มีลักษณะแตกต่างจากเมล็ดของพืชชนิดอื่นตรงที่มีขนาดเล็กมากจน แทบจะเป็นละออง เพราะภายในเมล็ดไม่มีอาหารสำหรับต้นอ่อนเหมือนเมล็ดพืชอื่นๆ จึงทำไห้เมล็ดกล้วยไม้มีขนาดเล็กมาก ตามธรรมชาติเมล็ดสามารถงอกได้โดยอาศัยเชื้อราบางชนิดที่อาศัยอยู่ตามราก กล้วยไม้ ช่วยย่อยสลายอินทรียวัตถุต่างๆ ให้เป็นอาหารแก่ต้นอ่อน ในสมัยก่อนจึงใช้วิธีหว่านเมล็ดจากฝักแก่ลงบริเวณโคนต้นของกล้วยไม้สกุล เดียวกัน แต่อัตราการงอกตามธรรมชาตินี้มีน้อยมาก ปัจจุบันใช้การเพาะเมล็ดในอาหารสังเคราะห์ ซึ่งมีธาตุต่างๆ ของกล้วยไม้ในปริมาณและสัดส่วนที่พอเหมาะ แต่อาหารดังกล่าวก็เป็นอาหารของเชื้อจุลินทรีย์ในอากาศด้วย ดังนั้นการเพาะเมล็ดกล้วยไม้จึงต้องเพาะในขวดเพาะ และอุปกรณ์ต่างๆ ในการเพาะต้องทำให้ปลอดเชื้อจุลินทรีย์ด้วย เพราะเชื้อจุลินทรีย์จะเข้าทำลายเมล็ดกล้วยไม้ได้
การเพาะเมล็ดกล้วยไม้อาจเพาะได้ทั้งเมล็ดจากฝักแก่และเมล็ดจากฝักอ่อน ข้อดีของการเพาะเมล็ดจากฝักอ่อน คือ ประหยัดเวลา ไม่ต้องรอจนฝักแก่ ต้นแม่พันธุ์ไม่โทรมเนื่องจากต้องเลี้ยงฝักนาน และป้องกันปัญหาฝักร่วงก่อนกำหนด แต่ข้อเสียของการใช้ฝักอ่อนคือต้องรีบเพาะทันทีหลังจากตัดฝักจากต้น มิฉะนั้นฝักจะเหี่ยวหรือเสีย แต่ถ้าเป็นฝักแก่หากเก็บไว้ในที่แห้งและเย็นจะสามารถเก็บได้นานเป็นปี

การขยายพันธุ์กล้วยไม้

การขยายพันธุ์กล้วยไม้
     ก. การขยายพันธุ์กล้วยไม้ประเภทแตกกอ (Sympodial) ทำได้หลายวิธี คือ
          1. การตัดแยกลำหลัง กล้วยไม้ที่จะตัดแยกควรมีลำลูกกล้วยอย่างน้อย 4 ลำ ใช้มีดหรือกรรไกรตัดกิ่งชนิดใบบางสอดเข้าไประหว่างลำลูกกล้วยตัดให้ ขาด และใช้ปูนแดงทาแผนให้ทั่ว ลำหลังที่ถูกตัดขาดจะแตกหน่อเป็นลำใหม่ขึ้น เมื่อลำใหม่นี้เริ่มมีรากโผล่ก็ยกออกปลูกได้
          2. การตัดชำ ใช้กับกล้วยไม้สกุลหวายที่ตาที่โคนลำแห้งตายไปแล้ว โดยนำลำหลังของหวายที่ตัดใบ ตัดรากออกหมดมาปักชำให้โคนลำฝังไปในทรายหยาบประมาณ 2-3 ซม. ห่างกัน 4-5 ซม. เก็บในที่มีแสงแดดค่อนข้างจัด รดน้ำให้โชก ตาที่อยู่ใกล้ปลายลำจะแตกเป็นลำใหม่ เรียกว่า ตะเกียง เมื่อลำ ตะเกียงเริ่มเกิดรากก็ตัดเอาไปปลูกได้
          3. การตัดแยกลำหน้า ใช้มีดหรือกรรไกรตัดแยกลำหน้า 2 ลำติดกันแล้วนำไปปลูกได้เลย ซึ่งต่างจากการตัดแยกลำหลังที่ต้องปล่อยทิ้งไว้ให้แตกหน่อใหม่ จึงจะนำไปปลูกได้ ระยะเวลาที่เหมาะสำหรับตัดแยกลำหน้า คือ เมื่อลำหน้าสุดเริ่มมีรากและรากยาวไม่เกิน 1 ซม.
     ข. การขยายพันธุ์กล้วยไม้ประเภทแวนด้า (Monopodial)
          1. การตัดยอด ถ้าเป็นพวกปล้องถี่ เช่น แอสโคเซนด้า, แวนด้าใบแบนยอดที่ตัดต้องมีรากติดมาอย่างน้อย 1 ราก ส่วนพวกข้อห่าง เช่น แมลงปอ อะแรนดา ควรให้รากติดมา 2 ราก และตอที่เหลือต้องมีใบติดอยู่เพื่อให้สามารถแตกยอดใหม่ได้
          2. การตัดแยกแขนง กล้วยไม้ประเภทนี้สามารถแตกหน่อหรือแขนงที่กลางต้นได้ จะตัดแยกเมื่อหน่อหรือแขนงมีใบ 2-3 คู่ และมีรากโดยตัดให้ชิดต้นแม่
          นอกจากนี้แล้วชาวสวนยังนิยมใช้ต้นกล้วยไม้ที่ขยายพันธุ์โดยวิธีเพาะเลี้ยง เนื้อเยื่อ เพราะการขยายพันธุ์วิธีนี้ ทำให้ได้ต้นที่มีลักษณะเหมือนต้นแม่ ในปริมาณมากโดยใช้ระยะเวลาที่สั้น และเป็นต้นที่ปลอดโรค

การปลูกกล้วยไม้          การเลือกทำเลปลูกเลี้ยงกล้วยไม้เพื่อตัดดอกขายนั้นควรใกล้แหล่งน้ำที่สะอาด pH ของน้ำประมาณ 5.2 มีสภาพอากาศดี การคมนาคมสะดวกเพื่อความรวดเร็วในการขนส่งดอกกล้วยไม้ ซึ่งเสียหายได้ง่าย การปลูกเลี้ยงกล้วยไม้ให้ได้ดอกที่มีคุณภาพดีนั้น นอกจากต้องมี การดูแลที่ดีมีการให้ปุ๋ย ฉีดยาป้องกันโรค และแมลงในระยะที่เหมาะสมแล้วยังจำเป็นต้องมีโรงเรือน

โรงเรือนปลูกกล้วยไม้          การสร้างโรงเรือนมีจุดประสงค์เพื่อปรับสภาพแวดล้อมให้เหมาะกับการเจริญเติบโตและการออกดอกของกล้วยไม้ และเพื่อจัดวาง ต้นกล้วยไม้ให้เป็นระเบียบ สะดวกแก่การทำงาน โดยสร้างหลังคาโรงเรือนเพื่อพรางแสงให้เหลือ 50-70% ตามความต้องการของกล้วยไม้แต่ละชนิด (ตารางที่ 1) โครงสร้างของโรงเรือนควรแข็งแรง มีอายุการใช้งานมากกว่า 3 ปีขึ้นไป
ในปัจจุบันนิยมสร้างโรงเรือน 2 แบบคือ

1. สร้างโรงเรือนหลังใหญ่แล้วสร้างโต๊ะวางกล้วยไม้หรือราวแขวนไว้ภายใน
2. สร้างโต๊ะวางกล้วยไม้ และใช้ไม้ต่อจากโต๊ะขึ้นไปเพื่อทำหลังคา
โครงสร้างของโรงเรือนควรเป็นเสาคอนกรีตหรือแป๊ปน้ำ ฝังลึกในดิน 50 ซม. โรงเรือนสูง 2-3 เมตร ใช้ตาข่ายไนล่อนหรือซาแรนคลุมหลังคา เนื่องจากมีน้ำหนักเบาใช้ได้ง่าย และมีราคาถูกโดยขึงให้ตึงและยึดติดกับลวดให้เรียบร้อย

ตารางที่ 1 ลักษณะโรงเรือนของกล้วยไม้ชนิดต่าง ๆ
สกุล
แวนด้
หวาย
ออนซีเดียม
แคทลียา
อะแรนด้
ความสูงของโรงเรือน (เมตร)
%แสง
การวางต้นในเรือน
3.5-4
50-60
แขวน
2.5-3.5
50-60
วางบนโต๊ะ
2.5-3.5
50
วางบนโต๊ะ
3.5-4
50
แขวนหรือ
วางบนโต๊ะ
2.5
50-70
วางบนโต๊ะ
หรือลงแปลง
พื้นที่โรงเรือนควรปูทรายและใช้แผ่นซีเมนต์ปูทางเดินเพื่อไม่ให้น้ำขังและสะดวกต่อการปฏิบัติงาน ส่วนโต๊ะวางกล้วยไม้ ควรมีขนาดกว้าง 1 เมตร ยาว 15-20 เมตร แล้วแต่ขนาดของโรงเรือนและเว้นทางเดินกว้าง 1-1.2 เมตร ราวแขวนซึ่งใช้กับกล้วยไม้ประเภทรากอากาศ เช่น แวนด้าอยู่ในระดับสูงจากพื้นประมาณ 2.5 เมตร แต่ละราวห่างกัน 40-50 ซม. และทุก ๆ 4 ราวควรเว้นทางเดินกว้างประมาณ 1 เมตร
วัสดุปลูกกล้วยไม้ที่มีระบบรากกึ่งอากาศ เช่น หวาย ออนซีเดียม และ Cattleya ต้องใช้เครื่องปลูกที่ระบายน้ำได้ดีและไม่อุ้มน้ำจนแฉะ หาได้ง่าย ราคาถูก และมีอายุใช้งานได้ไม่น้อยกว่า 3 ปี เช่น กาบมะพร้าว หรือ แท่งอัดกาบมะพร้าว โดยนำต้นกล้วยไม้ผูกติดกับไม้ไผ่ปักบนเครื่องปลูก หรืออาจใช้วิธีขึงลวดตามความยาวโต๊ะๆ ละ 4 ราว แล้วผูกต้นติดกับราว เพื่อยึดไม่ให้ต้นล้มและให้รากเกาะติดเครื่องปลูกได้เร็ว ไม่ควรปลูกอัดกันแน่นไปและทำให้ช่อดอก กล้วยไม้ที่ได้มีดอกลดลงด้วย ตลอดจนเป็นแหล่งสะสมโรคแมลง
สำหรับกล้วยไม้ประเภทรากอากาศ เช่น แวนด้า ช้าง กุหลาบ เครื่องปลูกที่ใช้ควรมีความทนทานไม่ผุเร็ว เป็นวัสดุที่หาง่ายมีราคาถูกและมีสภาพเหมาะกับการเจริญและแผ่ขยายของระบบราก วัสดุที่นิยมใช้ได้แก่ อิฐ กระถางแตก และถ่าน แล้วปลูกในกระเช้าไม้สักหรือกระถางดินเผาเจาะรูด้านข้างขนาด 5-6 นิ้ว โดยวางต้นกล้วยไม้ลงกึ่งกลางของภาชนะปลูกให้โคนต้นอยู่เหนือกระถาง 2-3 ซม. ใส่วัสดุปลูกจนเต็มภาชนะปลูกใช้ลวดเกี่ยวภาชนะแขวนในโรงเรือน
การย้ายต้นกล้วยไม้ที่ได้จากการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อลงปลูกในภาชนะ           เมื่อกล้วยไม้ในขวดมีรากและใบสมบูรณ์จึงนำออกจากขวดล้างวุ้นออกด้วยน้ำสะอาด แล้วปลูกลงในกระถางขนาดปากกว้าง 3.5-4.5 นิ้ว กระถางละ 25-40 ต้น เรียกว่ากระถางหมู่ โดยใช้ถ่านและออสมันด้าเป็นเครื่องปลูก เนื่องจากขณะลูกกล้วยไม้อยู่ในขวดจะได้รับสภาพที่มีความชื้นสูงมาก เมื่อนำออกจากขวดในระยะแรกจึงต้องปลูกเลี้ยงในสภาพที่มีความชื้นสูงและอับลม เช่น ตู้ที่คลุมด้วยพลาสติกใส รดน้ำให้ชุ่มปิดไว้ 2 วัน หลังจากนั้นจึงปิดฝาเฉพาะกลางวัน เปิดกลางคืนอีก 2 วัน แล้วเปิดฝาออกเลย 3 วัน จึงนำออกจากตู้พลาสติก วางไว้ในเรือนกล้วยไม้จนเจริญเติบโตได้ขนาด คือ ถ้าเป็นกล้วยไม้ประเภทแวนด้า ควรมีใบยาว 5-7 ซม. ส่วนกล้วยไม้ประเภทแตกกอควรมีลำลูกกล้วยสูง 5-7 ซม. จึงย้ายลงสู่ภาชนะที่มีขนาดใหญ่ขึ้น

ขยายพันธุ์ผักหวานป่า

การขยายพันธุ์

           การขยายพันธุ์ผักหวานป่า สามารถทำได้ 4 วิธีคือ
1.การเพาะเมล็ด 2.การตอนกิ่ง 3.การชำไหล(ราก) 4.การสกัดราก แต่วิธีที่ได้ผลและเป็นที่นิยมได้แก่การเพาะเมล็ด  
    
 

การเพาะเมล็ด

 
วิธีเพาะเมล็ดผักหวานป่า
      1.เก็บหรือซื้อผลผักหวานป่าที่สุกแล้วเปลือกจะมีสีเหลืองสด
      2.นำผลผักหวานป่ามาหมักไว้ประมาณ 3-4วันโดยใส่กระสอบปุ๋ยเข่งหรือภาชะนะอื่นๆที่
ระบายอากาศได้ดี
      3.เมื่อผลผักหวานเริ่มเน่าสังเกตุดูว่าจะมีราสีขาวขึ้นนำมาเอาเนื้อ ของผลผักหวานป่าออก โดยใช้มือขยี้แต่ต้องใส่ถุงมือยางเพราะยางของผลผักหวานอาจจะระคายเคืองผิว ได้ ขยี้และใช้น้ำล้างจนหมดเมือกเหลือแต่เมล็ดต้องทำด้วยความระมัดระวังอย่าให้ เมล็ดผักหวานช้ำ
อาจจะเสียหายข้างในแต่มองไม่เห็นจะมีผลต่อการงอกของเมล็ด(ถ้าทำจำนวนมากเป็น ร้อยๆกิโล เพื่อความสะดวกและรวดเร็วแนะนำให้ใช้เครื่องโม่ปูนแต่ต้องใส่ทรายกับหิน
ลงไปด้วยอัตรา1:1:1หรือตามความหมาะสมใช้เวลาประมาณ 2ชม.)ตอนล้างเมล็ด
ให้สังเกตุดูเมล็ดที่ลอยน้ำให้อาออกเพราะอัตราการงอกต่ำมากๆ ไม่ต้อเสียดายนะครับ
      4.นำเมล็ดผักหวานป่าที่ล้างสะอาดแล้วไปตากลมในที่ร่ม(ห้ามตากแดดเป็นอันขาด)
บนพื้นปูนในห้องน้ำ สังกะสีหรือใช้กระสอบป่านปูรองพื้นก็ได้แต่ถ้าปูบนพื้นดิน
ต้องระวังปลวกกินกระสอบด้วยนะครับโดยเกลี่ยให้มีความสูงที่ซ้อนกันไม่ เกิน3เมล็ดทิ้งไว้ประมาณ 2-3วัน จากนั้นใช้กระสอบป่านปูทับเมล็ดผักหวานป่าอีกทีหนึ่งแล้วรดน้ำให้ชุ่ม เช้า-เย็น
      5.ประมาณ3-5วันเมล็ดผักหวานป่าเริ่มมีรอยปริเป็นร่องขสีขาวๆและอีก ประมาณ1-2วัน(รวม7วัน)จะมีรากเริ่มงอกออกมาให้นำลงถุงเพาะชำที่เตรียมไว้ใน เรือนเพาะชำประมาณเดือน
ที่2จึงจะเริ่มเห็นใบของต้นกล้าผักหวานป่าเพราะในเดือนแรกรากจะลงดินก่อนรด น้ำวันละ1-2ครั้ง ประมาณ 4-5 เดือน ก็นำลงแปลงปลูกได้แต่ก่อนนำต้กล้าลงแปลงปลูกจริงควรเปิดหลังคาเรือนเพาะชำ หรือนำต้นกล้า ออกรับแสงที่ใกล้เคียงกับธรรมชาติและลดการให้น้ำตามสัก 3-4 วันตามสมควรเพื่อให้ต้นกล้า
มีอัตราการรอดในแปลงปลูกสูงขึ้น ถ้าทำตามขั้นตอนนี้ได รับรองเพาะ100เมล็ด งอก100เมล็ด


ขั้นตอนการเตรียมเมล็ดสำหรับการเพาะ

 
 

 

การตอนกิ่ง

 
การตอนกิ่งผักหวานป่าต้อใช้เวลานานกว่าพืชชนิดอื่นคือต้องใช้เวลาประมาณ 3เดือนขึ้นไปการออกรากขึ้นอยู่กับวัสดุที่ใชในการตอนแต่ราก
จะไม่ออกมากเหมือนพืชชนิดอื่น การตอนควรเลือกกิ่งที่มีแนวตั้งหรือ
กิ่งกระโดงจะออกรากดีกว่ากิ่งที่อยู่ในแนวนอนใช้เวลาประมาณ 45-60 วัน รากจะมีสีน้ำตาลอ่อน พอรากเป็นสีน้ำตาลแกให้ตัดแล้วชำลงถุงอีกประมาณ 1 เดือนค่อยนำไปปลูกลงแปลงต่อไป                                   
 
 

การชำไหล

 
การชำไหลเป็นภาษาของคนปลูกผักหวานป่า
คือการขุดเอารากผักหวานป่าแล้วตัดเป็นท่อนๆยาวประมาณ
4-5 นิ้วหรืประมาณ 1 คืบนำไปเพาะชำประมาณ 1 เดือน
ผักหวานป่าจะแตกกิ่งและยอดออกมา


    ขอขอบคุณ คุณอภิญญา พรหมมีชัย
ศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาอาชีพการเกษตรจ.นครราชสีมา
เอื้อเฟื้อภาพการตอน การชำไหล โรคแมลงและการป้องกัน
ฯคุณค่าทางโภชนาการและเมนูอาหารจากผักหวานป่า
 

การสกัดราก

 
ารสกัดรากเป็นวิธีการเพิ่มจำนวนต้นผักหวานป่าที่เหมาะสำหรับผู้ที่มีต้นผักหวานป่า
ที่มีอายุหลายปีแล้วและมีรากบางส่วนโผล่ขึ้นมานดินใช้สันมีดหรือจอบทุบลงไปบนราก
ที่โผล่ขึ้นมาให้เปลือกที่หุ้มรากอยู่ให้แตก ประมาณ 1เดือนจะต้นผักหวานป่าแตกขึ้นมาพร้อมจะเป็นต้นใหม่และเจริญเติบโต
อย่างรวดเร็วจากการสังเกตุสันนิฐานว่าผักชอบชอบการกระตุ้นที่รุนแรงจึงจะแตกยอด
และเจริญเติบโตได้ดี

 
 

ปลูกผักหวานป่า ไม่ยากอย่างที่คิด

ผักหวานป่า ราชาแห่งผักพื้นบ้าน ปลอดสารพิษ ล้าน %
ปลูกเพียงครั้งเดียวเก็บเกี่ยวได้ชั่วลูกชั่วหลาน
เมล็ดผักหวานป่ากำลังงอก
ต้นกล้าอายุ 4 เดือน